Search

CPF ซื้อฟาร์มหมูในจีน.."คุ้มค่า-ราบรื่น"แค่ไหน? - efinanceThai

mscopcopcop.blogspot.com
CPF ซื้อฟาร์มหมูในจีน.."คุ้มค่า-ราบรื่น"แค่ไหน?

หุ้นเด่นวันนี้

CPF ซื้อฟาร์มหมูในจีน..

ก่อนหน้านี้ ราคาหุ้น CPF ปรับตัวลงติดต่อกันถึง 3 วันทำการ แต่วานนี้ราคาหุ้นกลับมายืนในแดนบวกได้แล้ว หลัง CPF แจ้ง ตลท. เตรียมซื้อกิจการสุกรในประเทศจีน ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า หลังทำธุรกรรมเสร็จจะทำให้กำไรสุทธิของ CPF เติบโต 500 ลบ./เดือน แต่ทุกอย่างจะราบรื่นอย่างที่คิดไว้หรือไม่? ต้องติดตาม!  

*** ราคาปิดบวก หลังประกาศซื้อกิจการสุกรจีน

ราคาหุ้น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF วานนี้ (15 ก.ย.63) ดีดขึ้นไปทำจุดสูงสุดของวันที่ราคา 31 บาท ก่อนปิดการซื้อขายด้วยราคา 30 บาท เพิ่มขึ้น 1 บาท หรือ 3.45% มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น 141.29% จาก 5 วันทำการก่อนหน้า หลัง CPF แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เข้าซื้อธุรกิจสุกรในประเทศจีน ผ่าน CTI ซึ่งเป็นบริษัทย่อย

*** มูลค่าดีล 1.3 แสนลบ. แต่ CPF ไม่ต้องควักเงินลงทุน

เมื่อเย็นวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา CPF แจ้งผ่าน ตลท. ว่า  Chia Tai Investment Co., Ltd. หรือ CTI ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งในประเทศจีน และเป็นบริษัทย่อยที่ CPF ถือหุ้นผ่าน C.P.Pokphand Co., Ltd. หรือ CPP ได้เข้าซื้อกิจการสุกรในประเทศจีน คิดเป็นมูลค่า 4.1 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท) ด้วยการออกหุ้นใหม่ 65% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ CTI หลังจากการเพิ่มทุนให้แก่ผู้ขาย

โดย การเพิ่มทุนครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบกับ CPF ที่จะต้องมีการจ่ายเงินซื้อกิจการเลย แต่จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ CPF ลดเหลือเพียง 35% ทำให้จะเหลือเพียงการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนครั้งนี้เท่านั้น ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเดิม เนื่องจากบริษัทใหม่ที่เข้าไปลงทุนนั้นมีกำไรอยู่แล้ว 

ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย เวลท์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า Chia Tai Animal Husbandry Investment (Beijing) Co., Ltd. หรือ CTIA ซึ่งเป็นบริษัทที่ CTI เข้าไปซื้อกิจการมานั้น มีผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยสิ้นปี 62 มีกำไรสุทธิ 444 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท) 

ส่วนผลการดำเนินงานงวด 5 เดือนแรกของปี 63 มีกำไรสุทธิ 415 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท) จากราคาสุกรที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมองว่าการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ จะช่วยหนุนกำไรสุทธิของ CPF ในระยะต่อไป

*** โบรกฯ มอง CPF กำไรเพิ่ม 500 ลบ./เดือน หลังดีลสำเร็จ

บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุว่า มีมุมมอง"เชิงบวก" ต่อดีลดังกล่าว เพราะจะทำให้กำไรสุทธิของ CPF เพิ่มขึ้นได้ในอนาคต โดยที่ไม่ต้องใช้เงินอัดฉีดเข้าไปเลย ซึ่งในปีนี้ยังไม่เห็นผลมากนัก เพราะคาดว่าการเจรจาจะสำเร็จในช่วงไตรมาส 4/63 เนื่องจากต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในวันที่ 27 ต.ค.63 เสียก่อน โดยปี 64 จะได้รับผลบวกเต็มปี และคาดว่า CPF จะมีกำไรสุทธิเพิ่มราว 16.3 ล้านเหรียญ (ประมาณ 509 ล้านบาท) ต่อเดือน แต่ก็ขึ้นอยู่กับราคาเนื้อหมูที่ประเทศจีนด้วย

ด้าน บล.ทรีนีตี้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดีลดังกล่าวว่า นอกจากจะทำให้กำไรสุทธิของ CPF เพิ่มขึ้นทันทีที่ธุรกรรมเสร็จสิ้นแล้ว ยังมีโอกาสที่ธุรกิจในประเทศจีนจะเติบโตขึ้นด้วย เนื่องจากเดิม CTI ทำธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ ขณะที่ธุรกิจของ CTIA เป็นการผลิตสุกร 

โดยปัจจุบัน CTIA สามารถผลิตสุกรได้ราว 4 ล้านตัวต่อปี และมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 5 ในประเทศจีน แต่หลังการควบรวมกิจการครั้งนี้ คาดว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตในปี 64 ขึ้นเป็นราว 8 ล้านตัวต่อปี และเพิ่มเป็น 12 ล้านตัวต่อปี ในปี 65 

ส่วน บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ระบุว่า ปัจจุบันตลาดสุกรในประเทศจีนมีมูลค่า 2 แสนล้านเหรียญ (ประมาณ 6.2 ล้านลบ.) สูงที่สุดในโลก ซึ่งมีการเติบโตขึ้นราว 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาสุกรยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงไปอีกอย่างน้อย 2 ปี เนื่องจากปัจจุบัน Supply ลดลงกว่า 40% จากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประกอบกับ ธุรกิจอาหารสัตว์จะมีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้น ตามการเพิ่มปริมาณเลี้ยงสุกรจาก 4 ล้านตัว เป็น 12 ล้านตัว ในปี 65

*** แต่ใช่ว่าจะโตอย่างเดียว ความเสี่ยงก็ยังมี

บล.กรุงศรี ระบุว่า หลังจากการเข้าซื้อกิจการดังกล่าว ทำให้กำลังการผลิตสุกรของ CPF เพิ่มขึ้นประมาณ 100% ในปี 64 ซึ่งจะมีความเสี่ยง จากการผันผวนของราคาสุกรในอนาคต สูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน 

ขณะที่ บล.ฟินันเซีย ไซรัส มองว่า แม้ปัจจุบันราคาสุกรในประเทศจีน จะอยู่ในระดับสูงที่ 36 หยวน(ประมาณ 165 บาท) ต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าต้นทุนเลี้ยงที่ 14 หยวน(ประมาณ 64.45 บาท) ต่อกิโลกรัม จากการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร แต่ประเมินว่าราคาสุกรกำลังจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ขณะที่ราคาวัตถุดิบมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น ตามภาวะการเลี้ยงสัตว์กลับมาดีขึ้น 

นั่นหมายถึง Spread Margin ของธุรกิจเลี้ยงสัตว์อาจแคบลง และในทางกลับกัน หากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจนเกิด Oversupply อาจนำไปสู่ผลขาดทุนเหมือนในอดีตก็เป็นไปได้ โดยถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ผลประกอบการของ CPF ในระยะยาวมีความผันผวนมากขึ้น

ส่วน บล.เคทีบี ประเมินว่า โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร จะใช้เวลาประมาณ 2 ปีต่อจากนี้ ในการกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ราคาสุกรในช่วงดังกล่าวลดลง จากปริมาณการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นจนอาจเกิดภาวะ Oversupply

*** โบรกฯ ส่วนใหญ่แนะนำ"ซื้อ"

จากการสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่แนะนำ"ซื้อ" เนื่องจากมองว่าการซื้อกิจการในประเทศจีนของ CPF ครั้งนี้ จะช่วยหนุนกำไรสุทธิของ CPF เติบโตขึ้นในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร อีกอย่างน้อย 2 ปี

บล. คำแนะนำ ราคาเหมาะสม (บ.)
ฟิลลิป  ซื้อ 36.00
บัวหลวง  ซื้อ 38.75
ทิสโก้ ซื้อ 40.00
ทรีนีตี้ ซื้อ 41.00
ดีบีเอส วิคเคอร์ส ซื้อ 41.00
กรุงศรี  ซื้อ 42.20
หยวนต้า ซื้อ 49.50
ราคาเฉลี่ย 41.20

 

ต้องบอกว่าการซื้อกิจการครั้งนี้ของ CPF ดูจะเป็นปัจจัยบวกในระยะสั้นและกลางมากกว่าจะส่งผลลบ โดยนักวิเคราะห์ยังคาดว่าจะส่งผลดีไปอีกอย่างน้อย 2 ปี จากสถานการแพร่ระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรยังไม่คลี่คลาย ดังนั้นการเข้าลงทุนใน CPF ช่วงนี้ เพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น ก็อาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนได้เช่นกัน...

ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม


Let's block ads! (Why?)




September 16, 2020 at 09:22AM
https://ift.tt/3izJbJx

CPF ซื้อฟาร์มหมูในจีน.."คุ้มค่า-ราบรื่น"แค่ไหน? - efinanceThai

https://ift.tt/3gXnEKd


Bagikan Berita Ini

0 Response to "CPF ซื้อฟาร์มหมูในจีน.."คุ้มค่า-ราบรื่น"แค่ไหน? - efinanceThai"

Post a Comment

Powered by Blogger.