Search

9 เรื่องน่ารู้ STGT ผู้ผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง ที่ร้อนแรงที่สุดในขณะนี - efinanceThai

mscopcopcop.blogspot.com
9 เรื่องน่ารู้ STGT ผู้ผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง ที่ร้อนแรงที่สุดในขณะนี

IPO Corner

9 เรื่องน่ารู้ STGT ผู้ผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง ที่ร้อนแรงที่สุดในขณะนี

บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยาง บริษัทลูกของหุ้นสุดร้อนแรงอย่าง STA กำลังจะเข้าซื้อขายใน SET วันที่ 3 ก.ค.นี้ แม้จะเป็นหุ้นผลิตถุงมือยางแต่ก็มีรายละเอียดของธุรกิจอยู่มากเนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอันดับต้นๆ ของโลก


ดังนั้น สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย จึงได้สรุปข้อมูลที่สำคัญจากแบบไฟลิ่ง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน


1.ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยาง รายใหญ่ที่สุดในไทย


ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2532 เดิมชื่อ สยามเซมเพอร์เมด ก่อนจะถูกซื้อกิจการและเปลี่ยนชื่อในปี 60 โดย บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) ทำให้ปัจจุบันมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ STA ปัจจุบันเป็นผู้นำธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยางที่ใช้ในทางการแพทย์เป็นหลัก และสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอื่น โดยใช้วัตถุดิบน้ำยางจากกลุ่ม STA ภายใต้ตราสินค้า ดังนี้ ศรีตรังโกลฟ์, SRI TRANG GLOVES, ซาโตรี่, I'M GLOVE, ฟิน, Super Care, S-Gloves, WELLGUARD, Super Gard, SRITECH, Shi-Rui-Kang และ Ventyv


ปัจจุบันมีบริษัทย่อยสัดส่วนถือหุ้น 100% จำนวน 2 แห่งได้แก่ 1)Shi Dong Shanghai Medical Equipment Co., Ltd. (SDME) จัดตั้งในสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อดำเนินธุรกิจจำหน่ายถุงมือยางในสาธารณรัฐประชาชนจีน และ 2)Sri Trang USA, Inc.(STU) จัดตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินธุรกิจจำหน่ายถุงมือยางในประเทศสหรัฐอเมริกา


STGT มีปริมาณการขาย ณ สิ้นปี 62 ทั้งหมดอยู่ที่ 19,891.89 ล้านชิ้น แบ่งเป็น ถุงมือยางธรรมชาติชนิดมีแป้ง 34.9% ถุงมือยางธรรมชาติชนิดไม่มีแป้ง 26.2% และถุงมือยางไนไตรล์ 37% 


ณ สิ้นปี 62 บริษัทมีโรงงานทั้งหมด 3 แห่ง กำลังผลิตติดตั้งรวมกัน 27,153 ล้านชิ้นต่อปี นับเป็นผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีที่ตั้งโรงงาน และกำลังการผลิตแต่ละโรงงาน ดังนี้



ปัจจุบัน STGT เป็นผู้ผลิตที่มีกำลังผลิตเป็นอันดับที่ 3 ของโลก โดย 5 อันดับแรกของโลกมีชื่อบริษัท และกำลังผลิตดังนี้ 1. Top Glove กำลังผลิต 73,400 ล้านชิ้นต่อปี 2.Hartalega กำลังผลิต 36,600 ล้านชิ้นต่อปี 3.STGT กำลังผลิต 32,619 ล้านชิ้นต่อปี 4.Kossan กำลัง 28,000 ล้านชิ้นต่อปี 5.Supermax 24,000 ล้านชิ้นต่อปี 


2.เคาะราคาไอพีโอ 34 บ. คิดเป็น P/E 54 เท่า เทียบอุตสาหกรรมเดียวกันที่ 67.01 เท่า


STGT เคาะราคาเสนอขาย IPO ที่ 34 บาท กำหนดราคาเสนอขายผ่านการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Bookbuilding) โดยราคา IPO คิดเป็นอัตราส่วนกำไรต่อหุ้น(P/E) อยู่ที่ 54 เท่า หากพิจารณากำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในช่วงไตรมาส 1/62 - 1/63 เท่ากับ 899.59 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งหมดจำนวน 1,428.78 ล้านหุ้น (ไม่รวมส่วนของ STGT ESOP จำนวน 6 ล้านหุ้น) ได้กำไรสุทธิต่อหุ้นที่ 0.63 บาท/หุ้น 

ทั้งนี้หากรวมหุ้นจากส่วนของ STGT ESOP ที่จะเสนอขายในปีที่ 1 และ 2 หลังจากขาย IPO เข้ามาจะได้ P/E ที่ 54.23 เท่า


ซึ่งการประเมิน P/E บริษัทได้เปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกัน และเป็นผู้นำตลาดหรือมีส่วนแบ่งตลาดในอันดับต้นๆ ของโลก 4 ราย โดยอิงข้อมูลจาก Bloomberg ณ วันที่ 17 มิ.ย.63 ได้ P/E เฉลี่ยที่ 67.01 เท่าดังนี้

บริษัท ตลาดรองที่จดทะเบียน P/E(เท่า)
Hartalega Holdings Berhad(HART MK) Stock Exchange of Malaysia 92.34
Kossan Rubber Industries Berhad(KRI MK) Stock Exchange of Malaysia 46.56
Supermax Corporation Berhad(SUCB MK) Stock Exchange of Malaysia 67.23
Top Glove Corporation Berhad(TOPG MK) Stock Exchange of Malaysia 61.88
เฉลี่ย 67.01


STGT ขายหุ้นไอพีโอ : ทั้งหมดไม่เกิน 444,780,000 หุ้น คิดเป็น 30.1 % ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
มีจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโอที่อยู่ที่ : 1,434,780,000 หุ้น
เข้าจดทะเบียนด้วยวิธี : เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) : 1 บาท/หุ้น
มูลค่าทางบัญชี : 4.45 บาท/หุ้น (คำนวณ ณ วันที่ 31 ธ.ค.62)
เข้าซื้อขายใน : ตลาดหลักทรัพย์(SET) วันที่ 2 ก.ค. 63
หมวดธุรกิจ : ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์
ที่ปรึกษาทางการเงิน : บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด
ผู้ร่วมจัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย : บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
อันเดอร์ไรท์ : บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) / บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) / บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) / บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด จำกัด (มหาชน) / บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) / บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด / บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) / บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด


3.มีโครงการ ESOP พร้อมการขาย IPO


บริษัทจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 10,000,000 หุ้น เพื่อเสนอขายให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยของบริษัทฯ ตามโครงการ "STGT ESOP" โดยจะเสนอขายครั้งแรก ณ วัน IPO จำนวนไม่เกิน 4,000,000 หุ้น และส่วนที่เหลือ 6,000,000 หุ้น จะเสนอขายในปีที่ 1 - 2 ภายหลังการ IPO

สัดส่วนการเสนอขายหุ้นเป็นดังนี้



4.หลัง IPO กลุ่ม STA ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่


หลังจากการจำหน่ายหุ้น IPO แล้ว STA ยังคงสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่อันดับแรก ที่จำนวน 725,037,300 หุ้น หรือ 50.7% โดยสัดส่วนการถือหุ้นหลังจากการการจำหน่ายหุ้น IPO บนสมมติฐานว่ามีผู้ใช้สิทธิ STGT ESOP ทั้งจำนวน 4,000,000 หุ้น เป็นดังนี้



หากคำนวณสัดส่วนการถือหุ้นจากจำนวนหุ้นสามัญที่ออกใหม่ที่จัดสรรและเสนอขายให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ พนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยของบริษัทฯ ภายใต้โครงการ STGT ESOP ทั้งโครงการจำนวน 10,000,000 หุ้น บนสมมติฐานว่าจองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ภายใต้โครงการ STGT ESOP ทั้งโครงการทั้งจำนวน สัดส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นดังนี้



5.รายได้ทรงตัว ส่วนกำไรสุทธิผันผวน


รายได้และกำไรสุทธิของ STGT ในปี 60 - 62 เป็นดังนี้

ปี 60 61 62
รายได้(ลบ.) 11,246 10,988 11,994
กำไรสุทธิ(ลบ.) 214 981 614
อัตรากำไรสุทธิ(%) 1.9 8.9 5.1


สาเหตุที่ทำให้กำไรสุทธิปี 61 เติบโตก้าวกระโดดถึง 357% มาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรขั้นต้น และการลดลงของค่าใช้จ่ายในการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการแยกกิจการระหว่าง STA กับ Semperit นอกจากนี้ยังเป็นการเติบโตจากฐานต่ำเพราะในปี 60 มีค่าใช้จ่ายเพื่อระงับข้อพิพาทจากการแยกกิจการระหว่าง STA กับ Semperit

ขณะที่ปี 62 กำไรสุทธิลดลงมีสาเหตุมาจาก การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการบริหาร และค่าใช้จ่ายทางการเงินจาก 1.การรับโอนพนักงานการตลาดจากกลุ่ม STA 2.การรวมงบการเงินของ TK เข้ามาซึ่งเป็นผลจากการควบรวมบริษัท 3.ค่าใช้จ่ายในการขนส่งตามยอดขายเพิ่มขึ้น 4.ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น


6.D/E สิ้นปี 62 อยู่ที่ 2 เท่า หนี้ส่วนใหญ่มาจากสถาบันการเงิน


STGT มีระดับ D/E ณ สิ้นปี 62 อยู่ที่ 2 เท่า ซึ่งหนี้สินส่วนใหญ่มากจากการกู้ยืมสถาบันการเงินเพื่อนำมาขยายโรงงานและปรับปรุงสายการผลิต และเจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตถุงมือยาง

งบแสดงฐานะการเงิน STGT ณ สิ้นปี 62 ดังนี้


สินทรัพย์รวม : 13,216  ลบ.
หนี้สินรวม : 8,814 ลบ.
ส่วนของผู้ถือหุ้น : 4,402 ลบ.
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) : 2 เท่า
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) : 5.1%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) : 15%


7.เตรียมนำเงินระดมทุนไปใช้ขยายกำลังผลิต


STGT มีวัตถุประสงค์นำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนในครั้งนี้ จำนวน 14,595.38 ล้านบาท หลังหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้



8.สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period อยู่ที่ 99.9 ล้านหุ้น หรือ 7% ของหุ้นทั้งหมด


สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period จำนวน 99,927,200 หุ้น คิดเป็น 7 % ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ (ไม่รวมส่วนของหุ้นตามโครงการ STGT ESOP จำนวน 6,000,000 หุ้น)


9.มีนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 30% ของกำไรสุทธิ


STGT มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจากการหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจัดสรรทุนสำรองต่างๆ

ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม


Let's block ads! (Why?)




June 23, 2020 at 03:25PM
https://ift.tt/3fN1BVe

9 เรื่องน่ารู้ STGT ผู้ผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง ที่ร้อนแรงที่สุดในขณะนี - efinanceThai

https://ift.tt/3gXnEKd


Bagikan Berita Ini

0 Response to "9 เรื่องน่ารู้ STGT ผู้ผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง ที่ร้อนแรงที่สุดในขณะนี - efinanceThai"

Post a Comment

Powered by Blogger.